ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่

Sormtorluang, Piang Luang Chiang Mai

( จำนวนผู้ที่เข้ามาอ่านแล้ว 853 คน )

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่
ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
Piang Luang, Wiang Haeng, Chiang Mai
(บันทึกภาพเมื่อ ปีพ.ศ. 2560)


ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

วันเข้าพรรษาปีนี้ก็เงียบเหงาเหมือนปีที่แล้ว งานประเพณี วันสำคัญ พิธีกรรมต่างๆ งดจัดหรือได้ถูกปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ วันนี้เราเลยอยากเอาภาพบรรยากาศประเพณีช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษาของชาวไทใหญ่มาให้ชมกัน 

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ชาวไทใหญ่นั้นมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นในวัฒนธรรมการทำบุญของชาวไทใหญ่ที่มีความร่วมมือร่วมใจกันด้วยความศรัทธา ในประเพณีวันสำคัญต่างๆ ก็พากันไปวัดไปวาอย่างคับคั่งไม่ขาดสาย และประเพณีช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษานี้ก็มีความสำคัญมากทีเดียว คือ ประเพณี “ต่างซอมต่อโหลง” มีความหมาย คือ การถวายข้าวพระนั่นเอง 

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง
ชาวบ้านช่วยกันเตรียมข้าวของต่าง ๆ ใน "วันดา"

ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่วัดก่อนวันงานจริง หรือที่คนเมืองมักเรียกว่า วันดา ที่จะมาช่วยกันตระเตรียมข้าวของต่างๆ โดยประเพณีต่างซอมต่อโหลงนี้จะจัดขึ้นทุกวัน “ศีลใหญ่” ในช่วงวันเข้าพรรษา

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ในวันเตรียมงานหรือวันดานี้ชาวบ้านก็มาช่วยกันทำซอมต่อโหลงทั้งหมดสามอัน เห็นครั้งแรกก็นึกถึงบายศรีเลยแหละแต่ก็จะมีความเรียบง่ายมากกว่า  ซอมต่อโหลงทำมากจากใบตองและประดับด้วยดอกไม้นานาชนิด ซึ่งวัสดุที่ทำเหล่านี้ชาวบ้านก็นำมาจากบ้านกันละคนละนิดละหน่อยและมานั่งล้อมวงช่วยกันทำที่วัด

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ส่วนการทำซอมต่อโหลงจะประกอบไปด้วยสามส่วน มีตั้งแต่ส่วนฐานรอง ส่วนกาบซึ่งเป็นใบตองพับห่มซ้อนกันไล่ขนาดขึ้นมาเป็นลักษณะของกาบสามเหลี่ยม มีจำนวน 4 กาบ และส่วนยอดบนสุดมักตกแต่งด้วยรูปนกจากใบตอง ขั้นตอนการทำขออธิบายแบบคร่าวๆ นะคะ เริ่มตั้งแต่การเตรียมใบตองนำมาฉีกเป็นแผ่นขนาดเท่าๆ กัน จากนั้นก็พับเป็นรูปร่างสามเหลี่ยมนำมาซ้อนต่อๆกันแล้วกลัดด้วยตอกก้านมะพร้าวหรือเย็บด้วยด้าย ซึ่งทำเป็นส่วนฐานก่อนโดยวัดขนาดความจากรอบวงของขันโตกที่นำมารองรับ จากนั้นทำในส่วนของกาบทั้งสี่อัน และตกแต่งส่วนยอดด้วยใบตองรูปนก สุดท้ายจึงจะนำดอกไม้มาประดับตกแต่งส่วนต่างๆ ของซอมต่อโหลง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการเตรียมเพื่อถวายพระในวันถัดไปตอนเช้าตรู่ ศรัทธาชาวบ้านทั้งหลายก็จะได้นำของถวายมาวางยังซอมต่อโหลงนี้

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

นอกจากนี้ยังมีการทำ “หมอกเหง” แปลว่า ดอกไม้จำนวนพันดอก ถวายเป็นพุทธบูชาควบคู่ไปกับซอมต่อโหลงอีกด้วย มีลักษณะเป็นกรวยดอกไม้หรือสวยดอก โดยนำใบตองมาพันเป็นเกรียวเรียวแหลมและใส่ดอกไม้เมื่อทำครบสิบอันก็นำไปใส่ในกรวยอันใหญ่อีกที

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

การหาข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก เราพยายามหาข้อมูลจากคนเฒ่าคนแก่ว่ารูปแบบการทำซอมต่อโหลงนี้มาจากไหน ทำตั้งแต่เมื่อไหร่ รูปแบบมีความหมายว่าอย่างไร แต่ก็ไม่ได้คำตอบ มันเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาเรื่อยๆ จนหารากเหง้าหรือรูปแบบของมันจริงๆไม่ได้แล้ว น่าเสียดายเป็นอย่างมาก แต่คงเป็นความเชื่อความศรัทธาเดียวกับการทำบายศรีของแต่ละท้องถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเพื่อนบ้านเรานั่นแหละ การประดิษฐ์งานใบตองลักษณะเช่นนี้พบทั่วไป ตั้งแต่งานพิธีกรรมไหว้ผี ไหว้ครู ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือทำถวายเป็นพุทธบูชาอย่างที่กล่าวมา ถือเป็นวัฒนธรรมร่วมที่พบเห็นมากมายหลายพื้นที่

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

เช้าวันรุ่งขึ้นของวันที่สอง คือ วันงานจริงซึ่งเป็นวันศีลใหญ่ คณะศรัทธาชาวบ้านทั้งหลายเริ่มมาวัดกันตั้งแต่เช้าตรู่ จะนำก๊อกซอมต่อ (กระทงใบตองเล็กๆ) ใส่ข้าว ขนม ผลไม้ และข้าวตอกดอกไม้มาถวายพระ พร้อมทั้งจุดเทียนบูชา จะเห็นเลยว่าชาวไทใหญ่จะมีขันโตกสำหรับวางกรวยดอกไม้บูชาพระโดยเฉพาะ มีทั้งหมดสามอัน หมายถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ฉะนั้น เมื่อผู้คนเดินขึ้นมาวัดก็จะมีตะกร้าหรือสลุงที่ใส่กรวยดอกไม้ และข้าวตอกพร้อมทั้งขวดน้ำสำหรับหยาดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลเมื่อถึงตอนที่พระสงฆ์ประกอบพิธีสวด

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

วันศีลใหญ่ในช่วงวันเข้าพรรษา คนเฒ่าคนแก่จะมีการนอนวัด นุ่งขาวห่มขาว ถือศีลเจริญภาวนาอยู่ในวัด เรียกว่า “พ่อศีลแม่ศีลหรือพ่อขาวแม่ขาว”

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง
พ่อศีลแม่ศีลหรือพ่อขาวแม่ขาว

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่ ณ วัดมกายอน อ.เวียงแหง

ประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานดั่งภาพและตัวหนังสือที่เราได้กล่าวมานั้น คือ มนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ยังหลงเหลือให้เราได้มาสัมผัส ความศรัทธาของชาวไทใหญ่ต่อพระพุทธศาสนาที่ตนเองนับถือนั้นแสดงออกอย่างชัดเจนผ่านงานประเพณี วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ชาวบ้านจะมารวมตัวกันอย่างคับคั่งเพื่อประกอบพิธีกรรม ฟังเทศน์ ฟังธรรม รวมถึงการนอนวัดเพื่อรักษาศีล จากภาพบรรยากาศที่เราเห็นผู้คนที่มาวัดก็มีหลากหลายวัยด้วยกัน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ แต่เราไม่รู้ว่าวัยรุ่นกับเด็กๆเหล่านั้นที่มาวัดนั้นจะเข้าใจถึงพิธีกรรมทางศาสนาหรือไม่ อีกทั้งบทสวดมนต์แบบภาษาไทใหญ่จะยังมีใครเข้าใจความหมายจริงๆรึเปล่า หากไม่ใช่วัยคนเฒ่าคนแก่ที่ซึมซับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เด็กๆ เพราะคนสมัยนี้ห่างไกลความเป็นตัวตนหรือความดั่งเดิมของตนเองไปมาก ถึงแม้จะอยู่ในพื้นที่แต่สิ่งเร้าใจสมัยใหม่มักดึงดูดให้คนยุคนี้ห่างไกลรากเหง้าของตนเองออกไปเรื่อย ๆ

"สำหรับมุมมองของเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประเพณี พิธีกรรม ภาษา การแต่งกาย อาหาร ดนตรี ศิลปะ อย่างในภาพทั้งหมดที่เราได้รวบรวมและถ่ายทอดให้เห็นทั้งใน Gallery หรือที่เห็นในบทความต่างๆ ของเว็บไซต์ Mind’s Eye Vision นี้ มันคือสิ่งที่ดีงาม ที่สมควรแก่การส่งต่อและสืบทอดสู่คนรุ่นต่อไป ให้ได้ศึกษาเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เราไม่อยากให้ภาพแบบนี้มันกลายเป็นเพียงอดีตที่ปรากฏอยู่แค่ในภาพถ่ายเท่านั้น หวังว่าทุกคนจะเห็นคุณค่าในสิ่งเหล่านี้กัน"

ภาพ: พัชราภา วิริยะตานนท์
เรื่อง: พัชราภา วิริยะตานนท์

- Other LIFE Blog -

Image

ซอมต่อโหลง วิถีพุทธชาวไทใหญ่

บ้านจอง เปียงหลวง 09 Oct 2022

ชาวไทใหญ่นั้นมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นในวัฒนธรรมการทำบุญของชาวไทใหญ่ที่มีความร่วมมือร่วมใจกันด้วยความศรัทธา ในประเพณีวันสำคัญต่างๆ ก็พากันไปวัดไปวาอย่างคับคั่งไม่ขาดสาย และประเพณีช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษานี้ก็มีความสำคัญมากทีเดียว

อ่านต่อ...

Image

ตลาดเช้าบ้านเปียงหลวง

Bann Piang Luang 09 Oct 2022

ตลาดเช้าบ้านเปียงหลวง อ.เวียงแหง จุดรวมตัวของผู้คนในเช้าวันใหม่ ช่วงเวลาที่ผู้คนเริ่มต้นชีวิตในแต่ละวัน เป็นแหล่งรวมของซื้อ ของกิน เป็นสถานที่ที่จะสะท้อนภาพการดำรงชีวิตของผู้คนในอำเภอเวียงแหง เมืองที่ผู้คนอยู่ร่วมกันด้วยวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่หลากหลาย

อ่านต่อ...

Image

ความสดใสในวัยเด็ก

Ban Thung Luk School 06 May 2021

ความสดใสของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งหลุก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เราได้มีโอกาสได้ไปสอนนักเรียนโรงเรียนชนบทแห่งนี้อยู่หนึ่งสัปดาห์ และก่อนหน้านี้เราเคยเขียนบทความลงไปแล้วเป็นบรรยากาศหลังเลิกเรียนท่ามกลางวิวดอยหลวงเชียงดาวและทุ่งนาที่สะกดสายตา...

อ่านต่อ...

Image

Chiang Dao

Chiang Dao 09 Oct 2022

"เชียงดาว...ในช่วงเวลาที่หน้าจดจำ" เราได้มีโอกาสไปสอนที่ "โรงเรียนบ้านทุ่ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่" เป็นโรงเรียนเล็กๆ ตั้งแต่ อนุบาล - ป.6 นักเรียนก็น่ารักสดใสตามวัย เส้นทางไปโรงเรียนขนาบไปด้วยทุ่งนาสีเขียวเริ่มออกเหลืองและวิวทิวเขาของ "ดอยหลวงและดอยนางนอน"

อ่านต่อ...